วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ 

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ



1)ข้อมูล(data) 
    หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
2)สารสนเทศ(information)
    หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้วซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
3)ลักษณะข้อมูลที่ดี    
   - มีความถูกต้องแม่นยำ
   - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
   - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
   - ความสอดคล้องของข้อมูล
4)ชนิดและลักษณะของข้อมูล
   - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข(numeric data) คือข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้
     *เลขจำนวนเต็ม 
     *เลขทศนิยม 
       +แบบที่ใช้ทั่วไป
       +แบบที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์
   - ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character data) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปครณได้ 
     แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้
5)ประเภทของข้อมูล
   - ข้อมูลปฐมภูมิ(primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
     โดยตรงซึ่งไม่ได้ลอกคนอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย 
   - ข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) คือข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว เป็นข้อมูล
     สารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ 

2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ

1)การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
   - การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล 
   - การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อการถูกต้อง
     หากพบข้อผิดพลาดก็ต้องแก้ไข โดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
2)การประมวลผลข้อมูล
   - การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
     ต่อไป
   - การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้วก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับ
     ตัวเลขหรืออักขระ เพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล  
   - การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆแล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่า
     นั้นให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3)การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
   - การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
   - การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย 
     ก็สามนำข้อมูลที่สำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
4)การแสดงผลข้อมูล
   - การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล หากได้รับข้อมูลช่าวสารที่รวดเร็ว ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูล
     เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ  
   - การปรับปรุงข้อมูล หากเผลแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรติดตามผลตอบกลับเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมา 
     ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 

2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
1)ระบบเลขฐานสอง
   คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลข 0 กับ 1 โดยแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต 
   เมื่อนำหลายๆบิตมาเรียงต่อกัน เท่ากับ 1 ไบต์  
2)รหัสแทนข้อมูล
   - รหัสแอสกี ASCII เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยฐานสองจำนวน 8 บิต  เท่ากับ 1 ไบต์
   - รหัสยูนิโค้ด Unicode เป็นรหัสแทนด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต
3)การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
   - บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสองซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
   - ตัวอักขระ (character) ตัว้ลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้
     เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์   
   - เขตข้อมูล (field) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
   - ระเบียบข้อมูล (record) คือกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
   - แฟ้มข้อมูล (file) คือกลุ่มของระเบียบข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียบขึ้นไป
   - ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์
     กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
1)ความเป็นส่วนตัว 
   ก่อนที่จะเผลแพร่ข้อมูลต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง หากข้อมูล  
   เหล่านี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูลได้
2)ความถูกต้อง  
   ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลควรตรวจสอบความถูกต้อง เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่  
   ผิดก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ จำทำให้เสียเวลาในการค้นหาใหม่
3)ความเป็นเจ้าของ  
   การละเมิดลิขสิทธ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดการเสียหายทางธุรกิจ
   ของเจ้าของข้อมูล และจะมีความผิดจามกฏหมาย 
4)การเข้าถึงข้อมูล  
   การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอรุญาต ถืิอว่าเป็นการผิดจริยธรรม 
  

คำถาม  ข้อมูลมีกี่ประเภท?




 
 



 

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  
            เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยคำสามคำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" ซึ่งมีความหมายดังนี้

เทคโนโลยี(technology)
     การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ
สารสนเทศ(information)
     ข้ิอมูล หรือ ประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ
การสื่อสาร(communication)
     การส่วชงข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศ
     เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อมต่อกัน ซึ่งหมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึงการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ



1.2 ระบบสารสนเทศ
     ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และ จัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ 
1)ฮาร์ดแวร์
     เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น











 2)ซอฟแวร์
     เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งออกเป็น2ประเภทใหณ่ๆ คือ
  ซอฟแวร์ระบบ เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟแวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ดอส วินโดวส์ เป็นต้น
  ซอฟแวร์ประยุกต์ เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่น ซอฟแวร์ตารางทำงาน ซอฟแวร์ตกแต่งภาพถ่าย เป็นต้น








 



3)ข้อมูล
     ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ การจัดเก็บข้อมูลต้องเป็นระบบเพื่อให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
4) บุคลากร
     จะต้องมึความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้พัฒนาจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ ส่วนผู้ใช้จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้งาน
5)ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
    ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ
    
1.3ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1)ด้านการศึกษา
     ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
2)ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
     ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ ซึี่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งหมดไว้และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา
3)ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
     การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว เช่น การหาข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
4)ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น
5)ด้านความบันเทิง
      รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกและรวดเร็วจึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
   
1.4แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คน
  ในสังคม
- อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพที่
  สูงขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น 
- การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็น
  เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ 
- ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ
  เพิ่มมากขึ้น 
- หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย 
  ระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น
  
1.5ผลกระทบจาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
- การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทาง
  สังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
- การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่ม
  มากขึ้น
- ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฏหมายและละเมิดสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น เช่น ซีดีเพลง
  และวิดีโอภาพยนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น 
- การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เฟซบุ๊ก 
  ถ้าผู้ส่งไม่ระมัดระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
- เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือขยะอิเล็กทรอนิกส์
  ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ใน
  อนาคตได้

 1.6อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
  เช่น โปรแกรมฐานข้อมูลคลังสินค้า โปรแกรมคำนวณทางด้านวิศวกรรม เป็นต้น
- นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับ
  ความต้องการของผู้ใช้งาน 
- ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูแลความปลอดภัยของข้อมูล 
  ประสานงาน และตรวจสอบการใช้งาน
- ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบ
  เครือข่ายภายในองค์กร 
- ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ ทำหน้าที่ดูแลและคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งแต่เนื้อหา
  ภายในเว็บไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
- เจ้าหน้าที่เทคนิค ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์

ตอบคำถาม  Microsoft Paint


 

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

My profile

สวัสดีค่ะ!!!!
ฉันชื่อ "กวิสรา ไทรเมือง" ชื่อเล่น "ป่าน"
เพศ หญิง
เกิดวันที่ 15 ตุลาคม 2540
เลือดกรุ๊ป o
ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน "จอมสุรางค์อุปถัมภ์"
Phone number : 081-794****
Facebook : Hemp fd'
Twitter : hempfd1
E-mail : hemppedzuu@hotmail.com
ศิลปินที่ชอบ snsd<yoonaสมาย the star8
สีที่ชอบ สีส้ม สีเทา
อาหารที่ชอบ หอยลวก ไก่ทอด พล่ากุ้ง
เครื่องดื่มที่ชอบ ชาเนส ชาเขียว
ความใฝ่ฝัน อยากเป็นเภสัชกร
เครื่องดนตรีที่ชอบ กลอง
สัตว์ที่ชอบ กระต่าย
กีฬาที่ชอบ แบดมินตัน