วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ 

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ



1)ข้อมูล(data) 
    หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
2)สารสนเทศ(information)
    หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้วซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
3)ลักษณะข้อมูลที่ดี    
   - มีความถูกต้องแม่นยำ
   - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
   - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
   - ความสอดคล้องของข้อมูล
4)ชนิดและลักษณะของข้อมูล
   - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข(numeric data) คือข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้
     *เลขจำนวนเต็ม 
     *เลขทศนิยม 
       +แบบที่ใช้ทั่วไป
       +แบบที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์
   - ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ(character data) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปครณได้ 
     แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้
5)ประเภทของข้อมูล
   - ข้อมูลปฐมภูมิ(primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
     โดยตรงซึ่งไม่ได้ลอกคนอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย 
   - ข้อมูลทุติยภูมิ(secondary data) คือข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว เป็นข้อมูล
     สารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ 

2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ

1)การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
   - การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล 
   - การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อการถูกต้อง
     หากพบข้อผิดพลาดก็ต้องแก้ไข โดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
2)การประมวลผลข้อมูล
   - การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
     ต่อไป
   - การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้วก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับ
     ตัวเลขหรืออักขระ เพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล  
   - การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆแล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่า
     นั้นให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3)การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
   - การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
   - การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย 
     ก็สามนำข้อมูลที่สำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
4)การแสดงผลข้อมูล
   - การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล หากได้รับข้อมูลช่าวสารที่รวดเร็ว ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูล
     เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ  
   - การปรับปรุงข้อมูล หากเผลแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรติดตามผลตอบกลับเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมา 
     ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 

2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
1)ระบบเลขฐานสอง
   คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลข 0 กับ 1 โดยแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต 
   เมื่อนำหลายๆบิตมาเรียงต่อกัน เท่ากับ 1 ไบต์  
2)รหัสแทนข้อมูล
   - รหัสแอสกี ASCII เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยฐานสองจำนวน 8 บิต  เท่ากับ 1 ไบต์
   - รหัสยูนิโค้ด Unicode เป็นรหัสแทนด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต
3)การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
   - บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสองซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
   - ตัวอักขระ (character) ตัว้ลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้
     เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์   
   - เขตข้อมูล (field) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
   - ระเบียบข้อมูล (record) คือกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
   - แฟ้มข้อมูล (file) คือกลุ่มของระเบียบข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียบขึ้นไป
   - ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์
     กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน

2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
1)ความเป็นส่วนตัว 
   ก่อนที่จะเผลแพร่ข้อมูลต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง หากข้อมูล  
   เหล่านี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูลได้
2)ความถูกต้อง  
   ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลควรตรวจสอบความถูกต้อง เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่  
   ผิดก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ จำทำให้เสียเวลาในการค้นหาใหม่
3)ความเป็นเจ้าของ  
   การละเมิดลิขสิทธ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดการเสียหายทางธุรกิจ
   ของเจ้าของข้อมูล และจะมีความผิดจามกฏหมาย 
4)การเข้าถึงข้อมูล  
   การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอรุญาต ถืิอว่าเป็นการผิดจริยธรรม 
  

คำถาม  ข้อมูลมีกี่ประเภท?




 
 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น